คนที่หนีทหาร จะแจ้งย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านยังไง?
มีคำกล่าวนึงที่มักจะปรากฎในโลกโซเชียลว่า ‘สิ่งที่คนหนีทหารต้องเจอคือ เราจะไม่สามารถทำธุรกรรมอะไรที่เกี่ยวข้องกับทางราชการได้เลย เช่น ถ้าบัตรประชาชนหมดอายุ เราจะไปทำเรื่องต่อบัตรประชาชนไม่ได้ หรือถ้าใบขับขี่หมดอายุ เราก็ไปต่อใบขับขี่ที่ขนส่งไม่ได้เช่นกัน หรือเราจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งที่คูหาเลือกตั้งก็ไม่ได้ด้วย หรือจะไปทำธุรกรรมที่ธนาคารก็ไม่ได้ หรือถ้าเกิดป่วยขึ้นมาแล้วอยากจะไปหาหมอที่โรงพยาบาลรัฐก็ทำไม่ได้ หรือถ้าเราเพิ่งมีลูกก็ทำเรื่องแจ้งเกิดให้ลูกไม่ได้ รวมถึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคัดสำเนาเอกสารทางราชการหรือให้นายทะเบียนรับรองสำเนาเพื่อไปอ้างอิงหรือใช้สิทธิต่าง ๆ’ คำกล่าวนี้เป็นความจริงมั้ย ต้องบอกว่ามีทั้งจริงและไม่จริง เพราะทุกวันนี้ยังมีคนที่หนีทหารจำนวนมากที่คดียังไม่หมดอายุความ10ปี ก็ยังต่อบัตรประชาชนได้ตามปกติ แถมยังทำบัตรเครดิตกับธนาคารได้หน้าตาเฉย บางคนไปขึ้นโรงพักในคดีทะเลาะวิวาทในระหว่างหนีทหารก็แค่เสียค่าปรับ พอตำรวจสอบปากคำเสร็จแล้วก็ถูกปล่อยตัวกลับบ้านได้ น่าสนใจที่พวกเขาไม่ได้ถูกจับในคดีหนีทหารด้วยซ้ำทั้งๆที่ยังมีคดีหนีทหารค้างอยู่ในประวัติอาชญากรรมอยู่เลย เนื่องจากคนที่หนีทหารจำนวนนึง มีระยะเวลาการหนีทหารยังไม่ครบ180วัน ชื่อของพวกเขาจะยังอยู่ในค่ายทหาร เลยยังทำธุรกรรมต่างๆได้ตามปกติ หมายความว่าหน่วยงานราชการอื่นๆของรัฐ จะไม่แทรกแซงการทำงานของตำรวจ แม้ว่าคนเหล่านี้กำลังติดคดีหนีทหารอยู่ แต่กรณีที่หนีทหารจนพ้นระยะเวลา180วันไปแล้ว ชื่อของพวกเขามักจะถูกย้ายออกจากค่ายทหารไปอยู่ในทะเบียนบ้านกลาง ทีนี้แหละเวลาจะทำธุรกรรมอะไรก็จะทำไม่ได้จริงๆ ตามคำกล่าวข้างต้น สำหรับคนที่หนีทหาร ชื่อของเขาจะไปอยู่ในทะเบียนบ้านได้2กรณี คือ เราสามารถย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้าน กลับเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านได้ โดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้: เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้ว…