โรคอะไรบ้างที่ไม่ต้องเกณฑ์ทหาร

เมื่อปลายปีก่อน หลายคนต่างเฮว่ามี 3 โรคใหม่ที่กองทัพเพิ่งประกาศเพิ่มว่าจะได้รับการยกเว้นการเกณฑ์ทหาร ตามนี้:

  1. โรคตุ่มน้ำพอง
  2. โรคลำไส้พองแต่กำเนิด
  3. โรคพร่องเอนไซม์ G6PD

แต่พอวันจับใบดำใบแดงในเดือนเมษา2567 มาถึง ทหารหน้างานกลับบอกว่า 3 โรคใหม่นี้น่าจะได้รับยกเว้นเกณฑ์ทหารในปีหน้าแทน ไม่ใช่ในปีนี้ ทำให้คนจำนวนนึงที่เป็น 3 โรคนี้ ตัดสินใจไม่ผ่อนผันเกณฑ์ทหารเอาไว้เพราะคิดว่ารอดชัวร์ๆ จึงไปขอใบรับรองแพทย์มาแสดง พวกเขาต้องมาซดน้ำใบบัวบกกันเป็นแถวเนื่องจาก 3 โรคใหม่ที่ว่านี้ยังไม่มีผลบังคับใช้ในปี2567

คนป่วยในโรงพยาบาล

15โรคที่ได้รับการยกเว้นการเกณฑ์ทหารในประเทศไทย

ในประเทศไทย มีหลักเกณฑ์ที่ระบุว่าบุคคลจะได้รับการยกเว้นการเกณฑ์ทหาร หากเป็น1ในโรค15โรคนี้:

  1. โรคระบบทางเดินหายใจ
    • ปอดอุดกั้นเรื้อรัง
    • หลอดลมพอง
    • หอบหืด
    • โรคระบบทางเดินหายใจที่ทำให้สมรรถภาพปอดลดลงอย่างถาวร
  2. โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
    • ไตอักเสบเรื้อรัง
    • ไตพิการ
    • ไตวายเรื้อรัง
    • ไตพองเป็นถุงน้ำแต่กำเนิด
  3. โรคหรือความผิดปกติของตา
    • ตาข้างใดข้างนึงบอด คือเมื่อรักษาและแก้สายตาด้วยแว่นแล้ว การมองเห็นยังอยู่ในระดับต่ำกว่า3/60 หรือลานสายตาโดยเฉลี่ยแคบกว่า10องศา
    • สายตาไม่ปกติ คือเมื่อรักษาและแก้สายตาด้วยแว่นแล้ว การมองเห็นยังอยู่ในระดับ 6/24 หรือต่ำกว่า ทั้งสองข้าง
    • สายตาสั้นมากกว่า800 (8ไดออปเตอร์) ทั้งสองข้าง
    • สายตายาวมากกว่า500 (5ไดออปเตอร์) ทั้งสองข้าง
    • เป็นต้อแก้วตาทั้งสองข้าง
    • ต้อหิน
    • ขั้วประสาทตาเสื่อมทั้งสองข้าง
    • กระจกตาอักเสบเรื้อรังหรือขุ่นทั้งสองข้าง
  4. โรคเลือดและอวัยวะสร้างเลือด
    • โรคเลือดหรืออวัยวะสร้างเลือดผิดปกติอย่างถาวรและอาจเป็นอันตราย
    • ภาวะม้ามโตที่รักษาไม่หายและอาจเป็นอันตราย
  5. โรคของหัวใจและหลอดเลือด
    • หัวใจหรือหลอดเลือดพิการอย่างถาวร จนอาจเกิดอันตรายร้ายแรง
    • ลิ้นหัวใจพิการ
    • การเต้นของหัวใจผิดปกติอย่างถาวร จนอาจเกิดอันตรายร้ายแรง
    • โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และอาจเป็นอันตราย
    • หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
    • หลอดเลือดภายในกระโหลกศีรษะโป่งพองหรือผิดปกติชนิดที่อาจเป็นอันตราย
  6. โรคหรือความผิดปกติของหู
    • หูหนวกทั้งสองข้าง คือต้องใช้เสียงในช่วงคลื่นความถี่ 500-2,000 รอบต่อวินาทีหรือมากกว่า 55 เดซิเบลจึงจะได้ยินทั้งสองข้าง
    • หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรังทั้งสองข้าง
    • เยื่อแก้วหูทะลุทั้งสองข้าง
  7. โรคทางประสาทวิทยา
    • จิตเจริญล่าช้า ที่มีระดับเชาน์ปัญญา (IQ) 69หรือต่ำกว่า
    • เป็นใบ้หรือพูดไม่เป็นภาษา หรือฟังภาษาไม่รู้เรื่องชนิดถาวร
    • ลมชักหรือโรคที่ทำให้มีอาการชักอย่างถาวร
    • อัมพาตของแขน ขา มือหรือเท้าชนิดถาวร
    • สมองเสื่อม
    • โรคหรือความผิดปกติของสมองหรือไขสันหลังที่ทำให้เกิดความผิดปกติอย่างมากในการเคลื่อนไหวของแขนหรือขาอย่างถาวร
    • กล้ามเนื้อหมดกำลังอย่างหนัก
  8. โรคทางจิตเวช
    • โรคซึมเศร้า
    • ไบโพลาร์
    • จิตเภท
    • หรือโรคทางจิตเวชชนิดอื่นๆ
  9. โรคของต่อมไร้ท่อและภาวะผิดปกติของเมตาบอลิซึม
    • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยไปอย่างถาวร
    • ภาวะต่อมใต้สมองผิดปกติอย่างถาวร
    • เบาหวาน
    • ภาวะอ้วน ซึ่งค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่35กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป
    • โรคหรือความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึมของแร่ธาตุ สารอาหาร ดุลยสาร น้ำ อิเล็กโทรไลต์และกรดต่างๆ ตลอดจนเมตาบอลิซึมอื่นๆชนิดถาวรและอาจเป็นอันตราย
  10. โรคหรือความผิดปกติของกระดูก ข้อ และ กล้ามเนื้อ
    • ข้ออักเสบเรื้อรังจนกระดูกเปลี่ยนรูป
    • แขน ขา มือ เท้า นิ้ว อย่างใดอย่างหนึ่งผิดปกติ ดังต่อไปนี้
      • แขน ขา มือ หรือเท้าด้วน หรือพิการ ถึงแม้จะรักษาด้วยวิธีใหม่ที่สุดแล้วยังใช้การไม่ได้
      • นิ้วหัวแม่มือด้วน จนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
      • นิ้วชี้ของมือด้วยตั้งแต่ข้อปลายนิ้ว
      • นิ้วมือในมือข้างเดียวกันตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไปด้วน จนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
      • นิ้วหัวแม่เท้าด้วน จนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
      • นิ้วเท้าในเท้าข้างเดียวกันตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไปด้วน จนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
      • นิ้วเท้าในเท้าแต่ละข้างตั้งแต่หนึ่งนิ้วขึ้นไปด้วน จนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
      • นิ้วเท้าในเท้าข้างใดข้างหนึ่งตั้งแต่หนึ่งนิ้วขึ้นไปด้วน จนถึงข้อโคนนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
  11. โรคติดเชื้อ
    • โรคเรื้อน
    • เท้าช้าง
    • ติดเชื้อเรื้อรัง ระยะแสดงอาการรุนแรงซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
  12. โรคอื่น ๆ
    • โรคกะเทย หมายถึงคนที่มีอวัยวะเพศทั้งชายและหญิงในคนคนเดียวกัน หรือมีลักษณะของอวัยวะเพศกำกวม หมายถึง อวัยวะเพศ มีลักษณะบางอย่างของทั้งชายและหญิงผสมกัน จนบอกไม่ได้ว่าเป็นเพศอะไร
    • มะเร็ง
    • ตับอักเสบเรื้อรัง
    • ตับแข็ง
    • คนเผือก
    • โรคลูปัสอิธิมาโตซัสทั่วร่างกาย
    • กายแข็งทั่วร่างกาย
    • รูปวิปริตต่างๆ
      • จมูกโหว่
      • เพดานโหว่หรือสูง หรือลิ้นไก่สั้นพูดไม่ชัด
  13. โรคตุ่มน้ำพอง (เริ่มใช้ปี 2568)
  14. โรคลำไส้พองแต่กำเนิด (เริ่มใช้ปี 2568)
  15. โรคพร่องเอนไซม์ G6PD (เริ่มใช้ปี 2568)

ขั้นตอนการยกเว้นการเกณฑ์ทหาร

เมื่อผ่านการตรวจเลือกและพบว่ามีโรคหรือความพิการตามที่กำหนด ผู้ถูกเกณฑ์สามารถยื่นคำขอยกเว้นการเกณฑ์ทหารต่อคณะกรรมการคัดเลือก โดยต้องมีหลักฐานทางการแพทย์ที่ระบุถึงสภาพร่างกายและสุขภาพ เช่น ใบรับรองแพทย์ ผลการตรวจร่างกาย และประวัติการรักษา เป็นต้น

แต่หลักฐานทางการแพทย์ที่ว่านี้ควรจะออกโดยแพทย์จากโรงพยาบาลทหาร จะเป็นที่ยอมรับจากคณะกรรมการคัดเลือกมากกว่าโรงพยาบาลรัฐ หรือโรงพยาบาลเอกชนอื่นๆ

หากคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่าเหมาะสม ก็จะมีคำสั่งยกเว้นการเกณฑ์ทหารให้

เป็นโรคซึมเศร้าต้องขอใบรับรองแพทย์ยังไง? https://www.youtube.com/shorts/FvjqAbQL_Fo?feature=share

สนใจซื้ออีบุ๊ค คู่มือเกณฑ์ทหารโดย(ไม่)สมัครใจ คลิกลิงก์ https://peyconsulting.com/shop/

เป้ แนะแนว
เป้ แนะแนว

เป้ แนะแนวจบปริญญาตรีจากคณะบัญชี จุฬาฯ มีประสบการณ์ทำงานด้านไอทีออดิทมากว่าสิบปีในบริษัทบิ๊กโฟร์อย่าง KPMG กับ Deloitte จนเป็น Certified Information Systems Auditor (CISA) เคยเป็นทหารเกณฑ์ ปัจจุบันเป็นเน็ตไอดอลช่องติ๊กต่อกเป้ แนะแนวการศึกษาและอาชีพ และเจ้าของเพจรีวิวซีรีส์เกาหลีอย่าง Netflix Addict

Articles: 63

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *