อาชีพออดิทคืออะไร?

ออดิทกำลังคุยกับลูกค้า

คำว่าออดิทถูกเรียกย่อมาจากภาษาอังกฤษคำว่า ‘Auditor’ หรือ ‘ผู้ตรวจสอบ’ แต่ในประเทศไทยใช้คำว่าออดิทค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งแต่ละอาชีพมีรายละเอียดที่แตกต่างกันพอสมควร แต่ในวงการตรวจสอบบัญชี เรามักใช้คำว่าออดิทแทนอาชีพ ‘ผู้สอบบัญชี’ เป็นหลัก

อาชีพออดิทในประเทศไทยมีตั้งแต่อาชีพที่มีรายได้น้อย เช่น ออดิทเซเว่น หรือออดิทเชนร้านกาแฟที่มีหน้าที่ไปตรวจสอบสินค้าคงเหลือตามสาขาที่ได้เงินเดือนไม่ถึง15,000บาท ไปจนถึงอาชีพผู้สอบบัญชีที่เด็กจบปริญญาตรีมาใหม่ๆ ซึ่งได้เงินเดือนสูงถึง32,000บาทเลยทีเดียว

จริงๆแล้วอาชีพออดิทในโลกนี้มีหลายสิบอาชีพ แต่เนื่องจากผมทำงานในสายงานออดิทในสายงานตรวจสอบบัญชี ไอทีออดิท และตรวจสอบภายในมาตลอด20ปีที่ผ่านมา ผมจึงอยากจะแชร์ประสบการณ์เจาะลึกในสายงานเหล่านี้เป็นพิเศษ

อาชีพออดิทหรือผู้ตรวจสอบมีกี่แบบ แล้วแต่ละแบบทำอะไรบ้าง?

  1. ผู้สอบบัญชีหรือออดิท (External Auditor)
    • ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของงบการเงินของบริษัทลูกค้า
    • มีความเป็นอิสระเพราะเป็นคนนอกบริษัท
    • ออดิทที่เซ็นรับรองงบการเงินมีความน่าเชื่อถือเพราะมีใบประกอบวิชาชีพ CPA (Certified Public Accountant) ที่ออกโดยสภาวิชาชีพบัญชี
  2. ผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศหรือไอทีออดิท (External IT Auditor)
    • ตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทลูกค้า
    • ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาและปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • มีความเป็นอิสระเพราะเป็นคนนอกบริษัท
    • ไอทีออดิทที่เซ็นรับรองรายงานผลการตรวจสอบมีความน่าเชื่อถือเพราะมีใบประกอบวิชาชีพ CISA (Certified Information Systems Auditor) ที่ออกโดยหน่วยงานระดับโลกอย่าง ISACA
  3. ผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Auditor หรือ IA)
    • ประเมินระบบการควบคุมภายใน
      • ตรวจสอบความเพียงพอและประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายในขององค์กร
      • ระบุจุดอ่อนและให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงระบบการควบคุมภายใน
    • บริหารจัดการความเสี่ยง
      • ช่วยระบุและประเมินความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กร
      • ให้คำแนะนำในการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
    • ตรวจสอบการปฏิบัติงาน
      • ตรวจสอบความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ และประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน
      • ประเมินการใช้ทรัพยากรขององค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    • ให้คำแนะนำและสนับสนุนการปฏิบัติงาน
      • ให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
      • สนับสนุนให้เกิดการควบคุมภายในที่ดีและการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม
    • ติดตามและรายงานผล
      • ติดตามความคืบหน้าและความสำเร็จในการดำเนินการตามข้อเสนอแนะ
      • รายงานผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารและคณะกรรมการ
    • แม้ว่าเป็นคนในบริษัทก็จริงแต่ก็มีความเป็นอิสระจากผู้บริหารของบริษัทระดับนึงเนื่องจากรายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และรายงานต่อซีอีโอหรือเอ็มดีของบริษัทเช่นกัน
    • หัวหน้าแผนกตรวจสอบภายใน หรือ CAE (Chief Audit Executive) ในบริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น ธนาคาร หรือบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ส่วนใหญ่จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ CIA (Certified Internal Auditor) ที่ออกโดย The Institute of Internal Auditors (IIA) ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพระดับโลกที่ให้การรับรองมาตรฐานวิชาชีพผู้ตรวจสอบภายใน จึงมีความน่าเชื่อถือพอสมควร

ออดิททั้ง3แบบที่ว่ามา สามารถมีเงินเดือนหลักแสนได้ตั้งแต่ตอนอายุ28เลยทีเดียว

เราต้องเรียนสายอะไร หรือคณะอะไรถึงจะทำอาชีพออดิทได้?

  1. ผู้สอบบัญชีหรือออดิท (External Auditor)
    • สามารถเลือกเรียนม.ปลายสายวิทย์-คณิต หรือศิลป์-คำนวณ หรือสายอาชีพปวช.-ปวส.บัญชี ก็ได้
    • เรียนจบมหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรี (เป็นอย่างน้อย) จากคณะบัญชีที่ได้รับรองโดยสภาวิชาชีพบัญชี
  2. ผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศหรือไอทีออดิท (External IT Auditor)
    • สามารถเลือกเรียนม.ปลายสายวิทย์-คณิต หรือศิลป์-คำนวณ หรือสายอาชีพก็ได้
    • เรียนจบมหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรี (เป็นอย่างน้อย) จาก
      • คณะบัญชีสาขา AIS
      • คณะบริหารสาขา MIS
      • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
      • คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์
      • คณะวิศวะคอมพิวเตอร์
      • ถ้าเรียนจบจาก5คณะนี้จะได้รับพิจารณาเข้าทำงานเป็นลำดับแรก เพราะถ้าจบจากคณะอื่นถือว่าไม่ตรงสาย
  3. ผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Auditor หรือ IA)
    • สามารถเลือกเรียนม.ปลายสายอะไรก็ได้ หรือสายอาชีพสายอะไรก็ได้
    • เรียนจบมหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรี (เป็นอย่างน้อย) จาก
      • คณะไหนก็ได้ แต่ถ้าจบจากคณะบัญชีจะได้รับพิจารณาเข้าทำงานเป็นลำดับแรก
      • กรณีที่เป็น IT Internal Auditor ควรจบจาก
        • คณะบัญชีสาขา AIS
        • คณะบริหารสาขา MIS
        • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
        • คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์
        • คณะวิศวะคอมพิวเตอร์

ข้อดี-ข้อเสียของออดิททั้ง3แบบ

หัวข้อผุ้สอบบัญชีไอทีออดิทผู้ตรวจสอบภายใน
1. มีช่วงที่ทำงานหนักจนกลับบ้านตี2 ต่อเนื่องกันนานเป็นเดือนมีไม่มีไม่มี
2. ความยากในการสอบใบประกอบวิชาชีพยากปานกลางปานกลาง-ยาก
3. เงินเดือนเริ่มต้นของเด็กจบใหม่ในบริษัทบิ๊กโฟร์ 32,000บาทใช่ใช่ใช่
4. โอกาสรวยจากการใช้ใบประกอบวิชาชีพเปิดบริษัทของตัวเองสูงปานกลางปานกลาง
5. เป็นที่ต้องการในยุคเจนเอไอปานกลางสูงปานกลาง
6. โอกาสในการเรียนรู้รอบด้านจากงานประจำวันน้อยน้อยสูง
ตารางเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของออดิททั้ง3แบบ

อาชีพออดิททำอะไรบ้าง? https://www.youtube.com/watch?v=Wv4tZTOFQpk

อีบุ๊คคู่มือออดิทมือใหม่

อีบุ๊คไอทีออดิท101

อีบุ๊คตรวจสอบภายใน101

เป้ แนะแนว
เป้ แนะแนว

เป้ แนะแนวจบปริญญาตรีจากคณะบัญชี จุฬาฯ มีประสบการณ์ทำงานด้านไอทีออดิทมากว่าสิบปีในบริษัทบิ๊กโฟร์อย่าง KPMG กับ Deloitte จนเป็น Certified Information Systems Auditor (CISA) เคยเป็นทหารเกณฑ์ ปัจจุบันเป็นเน็ตไอดอลช่องติ๊กต่อกเป้ แนะแนวการศึกษาและอาชีพ และเจ้าของเพจรีวิวซีรีส์เกาหลีอย่าง Netflix Addict

Articles: 63

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *