
คำถามสุดฮอตที่ผมมักจะได้รับตอนไลฟ์สด เป็นคำถามเกี่ยวกับการที่ลูกจ้างถูกเจ้านายบังคับให้ทำโอที ซึ่งตามกฎหมายแรงงานไทย นายจ้าง ห้าม บังคับลูกจ้างทำงานล่วงเวลาหรือโอที โดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
กรณีที่นายจ้างจำเป็นต้องให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา
- ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน บริษัทจำนวนมากมักให้ลูกจ้างเซ็นยินยอมลงบนเอกสารก่อนทำโอทีไว้เป็นหลักฐาน
- นายจ้างต้องแจ้งลูกจ้างล่วงหน้าเกี่ยวกับการทำงานโอที เพื่อให้ลูกจ้างมีเวลาเตรียมตัวและต้องมีเวลาพัก 20 นาที ก่อนเริ่มทำงาน
- นายจ้างต้องกำหนดเวลาการทำงานล่วงเวลาของลูกจ้าง (ส่วนที่เกินจากการทำงานสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง) ไม่เกินสัปดาห์ละ 24 ชั่วโมงในปีแรก หลังจากได้รับการรับรองมาตรฐานแล้ว ในปีที่ 2 ต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 18 ชั่วโมง และในปีถัดไป ต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 12 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของลักษณะงาน
- นายจ้างห้ามให้ลูกจ้างทำงานวันหยุด ยกเว้นถ้าหากการหยุดงานจะส่งผลให้งานเกิดความเสียหาย หรือเป็นงานจำเป็นและเร่งด่วน แต่ต้องได้รับการยินยอมจากลูกจ้างก่อนเท่านั้น จึงจะมีการจ้างงานในวันหยุดได้
- นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดได้ ในกรณีเป็นกิจการเกี่ยวกับ การโรงแรม งานขนส่ง ร้านอาหาร สถานพยาบาล หรือกิจการอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ในการผลิต การจำหน่ายและบริการ และการรักษาพยาบาล เป็นต้น โดยต้องได้รับการยินยอมจากลูกจ้างก่อนเช่นเดียวกัน
- นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้ลูกจ้าง
- ไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานปกติ
- กรณียังเวลาในวันหยุด ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา ไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานปกติ
หากนายจ้างฝ่าฝืน
- มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน
- ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
- หรือทั้งจำทั้งปรับ
ตัวอย่างกรณีที่นายจ้างบังคับให้ทำโอทีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- เจ้านายสั่งให้ทำงานล่วงเวลาโดยไม่แจ้งล่วงหน้า
- เจ้านายขู่ว่าจะไล่ออกหากไม่ยอมทำโอที
- เจ้านายไม่จ่ายค่าล่วงเวลา
- เจ้านายบังคับให้ทำงานล่วงเวลาเป็นประจำ โดยไม่มีวันหยุดพักผ่อน
หากลูกจ้างถูกนายจ้างบังคับให้ทำโอทีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- สามารถร้องเรียนได้ที่
- สายด่วนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่เบอร์ 1506
- สหภาพแรงงาน
- ศาลแรงงาน
- เก็บหลักฐาน เช่น
- ใบสั่งงานล่วงเวลา
- บันทึกการทำงาน
- ข้อความสนทนากับเจ้านาย
- ปรึกษา ทนายความ
ถูกบังคับให้ทำโอที ผิดกฎหมายมั้ย?
สั่งซื้ออีบุ๊ค: