ความท้าทายของออดิทจากมุมมอง World Economic Forum 2024

ทะเลเดือด

จากการประชุม World Economic Forum 2024 ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีการพูดคุยถึงความท้าทายต่างๆ ที่ผมคิดว่าอาจส่งผลกระทบต่ออาชีพออดิท ดังนี้

1. สภาพอากาศสุดขั้ว (Extreme Weather):

  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อธุรกิจในระยะยาว ออดิทต้องช่วยธุรกิจวางแผนรับมือกับความเสี่ยงเหล่านี้
    • หากใครติดตาม facebook ของผศ. ดร.ธรณ์ ธำรงค์นาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้มีดีกรีเป็นแฟนพันธุ์แท้ทะเลไทย เราจะรู้ทันทีว่าเมื่อต้นปี 2024 ที่ผ่านมา ประเทศไทยเกิดเหตุการณ์ทะเลเดือด ทำให้เกิด:
      • ปะการังฟอกขาว และหญ้าทะเลตายเยอะมาก ส่งผลให้พะยูนอพยพย้ายถิ่นไปหาแหล่งอาหารจากที่อื่นแทน
      • มีเต่ามะเฟืองที่มาวางไข่บนบกหลายร้อยฟอง แต่สุดท้ายไข่เต่ากลับไม่มีเชื้อ ทำให้ไม่มีลูกเต่าทะเลเกิดใหม่ในที่สุด
      • แต่ปัญหาคือ เพศของเต่ามะเฟืองอยู่ที่อุณหภูมิในรัง ถ้าอุณหภูมิสูง เต่าจะเป็นเพศเมีย แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำ เต่าจะเป็นเพศผู้ ซึ่งที่ผ่านมาโลกร้อน ทรายร้อน ทำให้รังเต่าร้อน มีแต่ไข่ฟักเป็นเต่าเพศเมีย ปัญหานี้ส่งผลต่อจำนวนประชากรเต่าในระยะยาว อาจทำให้เต่าสูญพันธุ์ในบางประเทศไปเลย
      • มีปลาที่เลี้ยงในฟาร์มตายจากอุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้นผิดปกติ
    • ผู้ตรวจสอบภายในที่อยู่ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โรงแรม ประมง และการเกษตร จำเป็นต้องประเมินความเสี่ยงเหล่านี้เพราะมันมีผลกระทบโดยตรงต่อรายได้และต้นทุนของบริษัท
  • ภัยพิบัติทางธรรมชาติ: ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม พายุ ภัยแล้ง ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ออดิทต้องช่วยประเมินความเสียหายและความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
    • ช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน 2024 ที่ผ่านมา ประเทศไทยเกิดเอลนีโญ ทำให้อากาศร้อนผิดปกติ ทำให้ค่าไฟขึ้นสูงเช่นกัน
      • ออดิทที่อยู่ในอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าจะต้องนำประเด็นนี้มาพิจารณา เนื่องจากรายได้ของบริษัทน่าจะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
      • ส่วนอุตสาหกรรมอื่นที่มีต้นทุนเป็นค่าไฟฟ้า แม้รัฐบาลจะช่วยอุดหนุนค่าไฟให้ประชาชนในช่วงต้นปีที่ผ่านมา แต่หลังจากนี้รัฐบาลจะไม่อุดหนุนแล้ว หมายความว่าต้นทุนค่าไฟของบริษัทก็สูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วยเดียวกันของปีก่อน
    • ดร.ธรณ์ประเมินว่าช่วงปลายปีนี้มีโอกาสเกิดลานินญา ถ้าเกิดก็จะมีฝนตก และเกิดน้ำจะท่วมเฉียบพลันเป็นจุดๆ แต่คงไม่ท่วมหนัก ออดิทที่อยู่ในบริษัทที่มีพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลันต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงในเรื่องนี้ด้วย

2. ข้อมูลเท็จและข่าวปลอมที่สร้างโดย AI (AI-generated misinformation and disinformation):

  • ความเสื่อมเสียชื่อเสียง: ข้อมูลเท็จและข่าวปลอมที่สร้างโดย AI ส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของธุรกิจ ออดิทต้องตรวจสอบข้อมูลและรายงานทางการเงินให้ถูกต้อง
    • หากใครตามข่าวในแวดวงการลงทุน มันมีมิจฉาชีพใช้ AI ทำคลิปวีดีโอปลอมเป็นคุณกวี ชูกิจเกษม นักวิเคราะห์และลงทุนวีไอชื่อดัง (ในลักษณะที่โทนเสียงค่อนข้างเหมือนเจ้าตัว แต่ปากขยับไม่ค่อยตรงกับเสียงพูด) เพื่อหลอกให้คนหลงเชื่อและโอนเงินมาร่วมลงทุน ทำให้เกิดความเสียหายขึ้น
    • ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนวีไอชื่อดังก็ถูกเพจปลอมเอาชื่อไปใช้หลอกคนมาลงทุนเช่นกัน
    • ออดิทต้องประเมินว่า ความเสี่ยงที่มิจฉาชีพจะใช้ AI เหล่านี้สร้างข้อมูลเท็จเพื่อทำให้บริษัทเสียชื่อเสียง มีมากน้อยแค่ไหน
  • ความเสี่ยงทางกฎหมาย: ธุรกิจอาจเผชิญความเสี่ยงทางกฎหมายจากข้อมูลเท็จและข่าวปลอม ออดิทต้องให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

3. การแบ่งขั้วทางสังคมและ/หรือการเมือง (Societal and/or political polarization):

  • ความไม่มั่นคงทางการเมือง: ความไม่มั่นคงทางการเมือง เช่น สงครามอิสราเอล-ฮามาส กำลังขยายวงเป็นสงครามที่ใหญ่ขึ้นเนื่องจากมีอิหร่านเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย รวมถึงสงครามกลางเมืองในพม่า หรือนโยบายการแจกเงินดิจิตอลของรัฐบาล หรือผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปลายปีนี้ อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ออดิทต้องประเมินความเสี่ยงเหล่านี้ด้วย
  • การแบ่งขั้วทางสังคม: การแบ่งขั้วทางสังคมส่งผลต่อความไว้วางใจของสาธารณชน เช่น การแบ่งขั้วเด็กรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่าในบริษัท หรือคนที่เชียร์พรรคก้าวไกล หรือคนที่เห็นต่างกับพรรคก้าวไกล ออดิทต้องรักษาความโปร่งใสและความเป็นมืออาชีพในการทำงานแม้จะต้องทำงานกับคนเห็นต่างก็ตาม

4. วิกฤตค่าครองชีพ (Cost of living crisis):

  • แรงกดดันต่อธุรกิจ: วิกฤตค่าครองชีพส่งผลให้ธุรกิจมีต้นทุนสูงขึ้น ออดิทต้องประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ เช่น การควบคุมต้นทุนและการรักษาผลกำไร
    • การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยที่ผ่านมา ทำให้ธุรกิจมีต้นทุนที่สูงขึ้น
    • ราคาสินค้าแพงขึ้น แต่เงินฝืด คนไม่ค่อยจับจ่ายใช้สอย ทำให้รายได้ของบางธุรกิจลดลง
  • ความเสี่ยงด้านเครดิต: วิกฤตค่าครองชีพอาจเพิ่มความเสี่ยงด้านเครดิตของธุรกิจ ออดิทต้องประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตและให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจ
    • หนี้ครัวเรือนพุ่งสูงขึ้น โอกาสในการกู้สินเชื่อธนาคารผ่านก็ลดลง ในขณะที่ NPL พุ่งสูงขึ้น

5. การโจมตีทางไซเบอร์ (Cyberattacks):

  • การรั่วไหลของข้อมูล: การโจมตีทางไซเบอร์อาจทำให้ข้อมูลทางการเงินรั่วไหล ออดิทพิจารณความเสี่ยงของธุรกิจในการปกป้องข้อมูลและรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
    • หลังจากการมาของ Generative AI แฮกเกอร์จำนวนมากใช้ AI เหล่านี้ในการช่วยเขียนโค้ดโจมตีเซิฟเวอร์ของบริษัท ทำให้การโจมตีมีความถี่มากขึ้นเรื่อยๆ เป็นเงาตามตัว
    • ต้นทุนในการป้องกันการโจมตีของบริษัทสูงขึ้น เช่น พัฒนาระบบไอที จ้างไอทีออดิทมาตรวจเพิ่ม
  • การหยุดชะงักของธุรกิจ: การโจมตีทางไซเบอร์อาจทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก ออดิทต้องช่วยธุรกิจวางแผนรับมือและฟื้นฟูธุรกิจ
    • การทำ Disaster Recovery Plan อาจต้องมี scenario มากขึ้น มีความซับซ้อนมากขึ้น

6. การลดคนในบริษัทและใช้ AI มาทำงานแทน (Massive Layoffs):

  • ในตำแหน่งงาน1ตำแหน่งงาน อาจมีเนื้องานย่อย10งาน แต่ปัจจุบัน AI สามารถทำงานแทนคนได้ 7งาน จาก10งาน แต่ยังเหลืออีก3งานที่ AI ทำงานแทนคนไม่ได้ เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับจิตใจคน งานติดต่อประสานงาน เป็นต้น
  • บริษัทมีแนวโน้มที่จะจ้างคนที่เป็นเป็ด (หรือคนมีความสามารถหลายด้าน) เพียง1คน เช่น เป็นพนักงานขายได้ ทำบัญชีเป็น พรีเซนท์งานได้ ซ่อมคอมพิวเตอร์ได้ เป็นโปรเจคเมเนเจอร์ในตัว และใช้ AI เป็น พอบริษัทรับคนนี้มาแล้วก็จัดแจงไล่คน5คนที่เคยทำงานในตำแหน่งงานพวกนี้ในบริษัทออกให้หมด
  • ในระยะสั้น คนที่ทำงานใช้แรงงานจะไม่ได้รับผลกระทบเท่าพนักงานออฟฟิศ เนื่องจากคนเหล่านี้สามารถใช้ AI มาช่วยทุ่นแรงให้ตัวเองได้ แต่ถ้าสุดท้ายประเทศไทยใช้หุ่นยนต์มาทำงานแทนคนเกือบหมด คนใช้แรงงานก็จะได้รับผลกระทบอยู่ดีในระยะยาว
  • ออดิทจะต้องพิจารณาความเสี่ยงเหล่านี้ โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศ

อย่างไรก็ตาม ยังมีโอกาสสำหรับออดิทในอนาคต ดังนี้:

  • การให้คำปรึกษา: ออดิทสามารถให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจเกี่ยวกับความท้าทายต่างๆ ข้างต้น
  • การตรวจสอบภายใน: ออดิทต้องตรวจสอบระบบควบคุมภายในของธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ
  • การตรวจสอบระบบ AI: สำหรับธุรกิจที่นำ AI มาใช้ ออดิทจำเป็นต้องตรวจสอบการทำงานของ AI ว่าทำงานอย่างถูกต้อง โปร่งใส และปลอดภัยหรือไม่

โดยสรุป ออดิทจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับความท้าทายใหม่ๆ พัฒนาทักษะด้านการวิเคราะห์ความเสี่ยง การให้คำปรึกษา และอัพเดทความรู้ทางเทคโนโลยี ออดิทที่สามารถปรับตัวได้จะเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต

แหล่งข้อมูล:

อาชีพอะไรที่จะดีในอีก10ปีข้างหน้า? https://www.youtube.com/shorts/5FWLB12OWwU?feature=share

อีบุ๊คคู่มือออดิทมือใหม่

อีบุ๊คไอทีออดิท101

อีบุ๊คตรวจสอบภายใน101

เป้ แนะแนว
เป้ แนะแนว

เป้ แนะแนวจบปริญญาตรีจากคณะบัญชี จุฬาฯ มีประสบการณ์ทำงานด้านไอทีออดิทมากว่าสิบปีในบริษัทบิ๊กโฟร์อย่าง KPMG กับ Deloitte จนเป็น Certified Information Systems Auditor (CISA) เคยเป็นทหารเกณฑ์ ปัจจุบันเป็นเน็ตไอดอลช่องติ๊กต่อกเป้ แนะแนวการศึกษาและอาชีพ และเจ้าของเพจรีวิวซีรีส์เกาหลีอย่าง Netflix Addict

Articles: 63

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *